วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ยาง

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

ยางธรรมชาติ


มอนอเมอร์  คือ  ไอโซพรีน
พอลิเมอร์     คือ  พอลิไอโซพรีน

        วิธีการทำยางแผ่นจากน้ำยางธรรมชาติ ทำได้โดยนำน้ำยางที่ได้มาเติมสารละลายแอมโมเนียเพื่อป้องกันการบูด แล้วจึงเติมกรด CH3COOHหรือกรด HCOOH เจือจางลงไป เพื่อให้ยางรวมตัวกันเป็นก้อนตกตะกอนออกมา นำตะกอนที่ได้รีดน้ำออกแล้วทำเป็นแผ่น แล้วจึงนำออกตากแดดจะได้แผ่นยางดิบ 

ยางพารา


 
ยางกัตตา


 

นีโอพรีน
3. ยางเอสสบีอาร์หรือยางสไตรีนบิวทาไดอีน เป็นโคพอลิเมอร์ที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่าง สไตรีนกับบิทาไดอีน ถ้ามีสไตรีนมากเรียกว่าพลาสติกสไตรีนบิวทาไดอีน ถ้ามีบิวทาไดอีน มากเรียกว่ายางสไตรีนบิทาไดอีน ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตยางรถยนต์ มีสมบัติทนทานต่อการขัดถู และเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ยากกว่ายางธรรมชาติ  แต่มีความยืดหยุ่นน้อย
การวัลคาไนเซชัน (Vulcanization) คือ การที่ยางทำปฏิกิริยากับกำมะถันในปริมาณที่พอเหมาะที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดหลอมเหลวของกำมะถัน โดยกำมะถันที่นำมาทำปฏิกิริยาด้วยนี้จะสร้างพันธะโคเวเลนต์เชื่อมระหว่างโซ่พอลิเมอร์ให้เป็นโมเลกุลเดียวกันทำให้ยางมีคุณภาพคงตัวในอุณหภูมิต่างๆ มีความยืดหยุ่นได้ดีมากขึ้น ทนความร้อนและแสงแดด ละลายในตัวทำละลายได้ยากขึ้น เช่น ปกติยางธรรมชาติเมื่อได้รับความร้อนจะเหนียวและอ่อนตัว แต่เมื่ออุณหภูมิต่ำลงจะแข็งและเปราะฉะนั้นจึงต้องปรับคุณภาพของยางธรรมชาติ ก่อนนำมาใช้ประโยชน์ ปฏิกิริยานี้ถูกค้นพบโดยบังเอิญโดย ชาร์ลส์ กูดเยียร์ (Charles Goodyear)

ยางสังเคราะห์   
มีการผลิตขึ้นมาใช้หลายชนิด




1.  พอลิบิวทาไดอีน มีสูตรโครงสร้างพอลิเมอร์คือ (–CH2CH=CH–CH2–)n เป็นยางสังเคราะห์ชนิดแรกของโลก ผลิตขึ้นในประเทศเยอรมนี โดยใช้มอนอเมอร์คือ บิวทาไดอีน (CH2=CH–CH=CH2) เมื่อผ่านกระบวนการวัลคาไนเซชันแล้ว มีความยืดหยุ่นน้อยกว่ายางธรรมชาติ ใช้ทำยางรถยนต์ได้
2.  พอลิคลอโรพรีน ซึ่งเป็นพอลิเมอร์มีชื่อทางการค้าว่า นีโอพรีน เป็นพอลิเมอร์ที่สลายตัวยาก ทนไฟ มีสมบัติบางประการดีกว่ายางธรรมชาติ คือทนต่อสภาพที่ต้องสัมผัสกับน้ำ อากาศและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง น้ำมันเบนซินและตัวทำละลายอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น